รู้จริงเรื่องปฏิทินจีน
ปฏิทินจีน
Chinese Calendar
ปฏิทินจีนคืออะไร ปฏิทินจีนคือปฏิทินของชาวจีนที่น่าจะเป็นปฏิทินเดียวในโลกที่มีการใส่รายละเอียดต่างๆเข้าไปมากมาย ปฏิทินจีนเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยมานาน
นานจนไม่ค่อยมีคนรู้หลักการที่ถูกต้องว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
และส่วนไหนที่ใช้ไม่ได้ ส่วนไหนยังสามารถใช้ได้อยู่ บทความนี้เขียนและเรียบเรียงขึ้นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านข้อมูล
และผู้ที่ต้องการหาฤกษ์คลอดบุตร หาวันคลอดลูก หาวันผ่าคลอด จะได้สบายใจและมีความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องของปฏิทินจีน
ในช่วงแรกของบทความนี้ผมขออธิบายสุปสั้นๆก่อนว่าในการหาฤกษ์คลอดบุตร
หาวันคลอดลูก หาวันผ่าคลอด หรือแม้แต่การจัดฮวงจุ้ย
การหาฤกษ์อื่นๆ ไม่ได้ใช้ปฏิทินจีนเลย ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับวันธงชัย
แม้ในการศึกษาท่านอาจารย์จะสอนหลักการอ่านปฏิทินจีน
แต่ก็เพื่อจะได้เข้าใจและรู้ว่ามีสิ่งใดที่ใช้ได้ และใช้ไม่ได้บ้าง
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการที่คนส่วนใหญ่เลือกวันดีเพียงเพราะเป็นวันที่มีตัวหนังสือสีแดงเท่านั้น
คำทำนายต่างๆที่ให้ไว้ก็เป็นเพียงหยาบๆ แถมยังผิดเสียอีก
ผมนำบทความด้านล่างนี้มาจาก manageronline อธิบายไว้ได้ดี แต่ก็ไม่ถูกทั้งหมด
ผมจะเพิ่มคอมเมนต์ด้วยอักษรสีแดงกำกับไว้ลองตามอ่านกันเลยครับ
ช่องที่ 1 : เดือนและปี พ.ศ. ตามแบบปฏิทินไทย และ ค.ศ.ตามแบบสากล
ช่องที่ 2 :วัน เดือน ปี ข้างขึ้น ข้างแรม ตามจันทรคติของไทย
ช่องที่ 3 :วันที่ตามแบบสากล
ช่องที่ 4 :เดือนและวันที่เขียนเป็นภาษาจีน นับตามแบบสากล
ช่องที่ 5 :วันที่ตามปฏิทินสากลแต่เขียนเป็นทั้งภาษาไทย จีนและอังกฤษ
ช่องที่ 6 :วัน เวลา ของการครบรอบการเปลี่ยนแปลงวันสารทของคนจีน ซึ่งใน
1 ปี จะมี 24 สารท
โดยใน 1 เดือนจะมี
2 สารท คือ สารทเล็กและสารทใหญ่ (ตรงจุดนี้จะมีข้อผิดพลาดแน่นอนครับ
ได้รับการตรวจสอบยืนยันจากซินแซชื่อดังหลายท่านเรียบร้อย )
ช่องที่ 7 :วันที่ตามจันทรคติของจีน
ช่องที่ 8 :ปีและเดือน ตามจันทรคติของประเทศจีน
ซึ่งจะดูตามโหราศาสตร์จีนโบราณ โดยใช้สัญลักษณ์ของราศีบนกับราศีล่างทั้ง 24 ราศี แทนการเขียนเดือนลงบนปฏิทิน (แท้จริงแล้วจะเป็น 10ราศีบน 12ราศีล่าง)
ช่องที่ 9 :การดูฮวงจุ้ยและทิศที่เหมาะในการสร้างบ้าน
ช่องที่ 10 :ทิศที่ดีประจำวันและกิจกรรมที่ไม่เหมาะที่จะทำในวันนั้น
เช่น วันที่ 26 ม.ค.
ไม่ควรไปจับปลาหรือไปล่าสัตว์ ไม่ควรหมักเหล้า เป็นต้น (ตรงนี้ไม่ค่อยมีคนอ่านออก ไม่ค่อยได้ใช้กัน
และแน่นอนว่าซินแซส่วนใหญ่ไม่ใช้เช่นกัน)
ช่องที่ 11 :ครึ่งข้างบนจะเป็นการบอกดวงดาวประจำวันนั้นๆ
เพื่อนำไปพิจารณาร่วมกับการหาฤกษ์มงคล
ส่วนครึ่งข้างล่างจะเป็นการแนะนำว่าวันนี้เหมาะที่จะทำกิจกรรมใดบ้าง (ตามศาลเจ้า โรงเจ มักใช้แต่ซินแซฮวงจุ้ยไม่ใช้ครับ)
ช่องที่ 12 :ในปฏิทินจะบอกถึงปีนักษัตรที่ชงกันในวันนั้น เช่น ในวันที่ 26 ม.ค. คนที่เกิดในปีมะแม ไม่ควรทำกิจกรรมหรือการค้าใดๆ กับ
คนที่เกิดปีฉลู
เพราะจะทำให้กิจกรรมที่ทำร่วมกันนั้นมีอุปสรรคและไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร (ผิดอีกเช่นกัน การชงมิได้มีแต่หลักปี
สามารถเกิดการชงกันได้ทุกหลัก แต่ละหลักส่งผลต่างกันไป
หลักการสำคัญในการดูว่าวันนั้นๆเป็นดีกับแต่ละคนไหม ให้เริ่มดูที่หลักวัน
แต่ต้องดูที่ราศีบนที่จะเป็นตัวกำหนดว่าวันนั้นเป็นวันธาตุอะไร และองค์ประกอบปี
เดือน ยาม จะบอกว่ามีคุณภาพแค่ไหน เป็นวันธาตุแข็งแรงพอไหม
ส่วนราศีล่างนอกจากดูการชงแล้ว ยังมีปฏิกิริยาแบบอื่นที่ต้องพิจารณาด้วยอย่างเช่น
ภาคี ไตรภาคี ไตรทิศ ซำเฮ้ง เฮ้ง)
ช่องที่ 13 :กำหนดวันที่ดีกับวันที่ไม่ดี
เพื่อนำไปหาฤกษ์ในวันที่จะทำพิธีมงคล (ตรงนี้คือจุดสำคัญยังนำไปใช้ได้ การผูกดวงก็ใช้ตรงจุดนี้ มีความถูกต้องสูงเพราะเป็นการเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ
ไม่ได้เกี่ยวกับดวงดาวบนท้องฟ้า ไม่มีความคลาดเคลื่อนเหมือนจุดอื่น
แต่การนำไปใช้ยังคงมีข้อผิดพลาดเฉพาะตัวซินแซแต่ละคนอยู่มาก
หลายคนรู้แค่หลักการที่บอกในปฏิทินว่าอ่านยังไงแต่ไม่ได้เรียนรู้วิธีการพิจารณานำไปใช้จริง)
ช่องที่ 14 :ลักษณะวัน ที่มีคำทำนายภาษาไทยอธิบายรายละเอียดอยู่
ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายๆ ว่าหากวันไหนเป็นวันธงไชย วันกาลกินี และวันอุบาทว์
ในปฏิทินจะมีการเขียนคำทำนายเป็นตัวอักษรเป็นสีแดงทั้งหมด
ซึ่งลักษณะวันที่ปรากฏในส่วนนี้จะเปลี่ยนไปทุกวัน ทุกปี และจะวนกลับมาตรงกันอีกครั้งในทุก
180 ปี ซึ่งนับตามจันทรคติของจีน (คำอธิบายนี้ใช้ไม่ได้ จะมีเพียง60แบบ เพราะทำนายจากหลักวันเท่านั้น ไม่ได้คำนึงถึงหลัก ปี
เดือน และยาม คนหนึ่งคนต้องพิจารณาทั้งสี่หลักแปดตัวอักษร
และสภาพแวดล้อมด้วย มนุษย์จึงมีความแตกต่างกันมาก วิชาดวงจีนจึงละเอียดมากที่สุด
และที่กล่าวว่า 180 ปีจะวนมาก็ไม่ถูกต้อง
ที่ถูกต้องคือเพียงแค่ 60 ปี
ก็จะวนกลับมาเหมือนเดิมทั้งแปดตัวอักษรในการผูกดวง ซึ่งการที่คนจีนนิยมจัดแซยิดครบ
60 ปี ก็เพราะเชื่อว่าคนนั้นได้ผ่านร้อนผ่านหนาว
ผ่านวัฏจักรของธาตุมาครบแล้ว ต่อไปก็จะเริ่มวนซ้ำเดิม)
อย่างไรก็ดีสำหรับการนับวันตามแบบปฏิทินไทย
จีนนั้น จะมี 2 เดือน
คือเดือนเล็กมี 29 วัน
เดือนใหญ่มี 30 วัน
ซึ่งทุกต้นเดือนของทั้งเดือนเล็กและเดือนใหญ่จะถือเป็นวันพระจีนหรือที่เรียกว่า
“ชิวอิก (初一)”
沒有留言:
張貼留言